Pagespeed Insights คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับการทำ SEO

Aus Audi Coding Wiki
Wechseln zu: Navigation, Suche

หนึ่งในปัจจัยของการทำ SEO ที่สำคัญไม่แพ้การทำ SEO Content, การทำ On-Page SEO หรือการทำ Off-Page SEO นั่นก็คือ การตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ (Pagespeed) ที่ Search Engine อย่าง Google ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Pagespeed จะมีความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ (User Experience) ที่ Google ระบุชัดว่าการมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เข้ามายังเว็บไซต์จะส่งผลไปยังการจัดอันดับของ Google ด้วย  …ว่าแต่จะหา Pagespeed Insights จากที่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์มีปัญหา PageSpeed คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ลองมาดูความสำคัญของ Pagespeed ของเว็บไซต์พร้อมดูตัวอย่างการทำ Pagespeed Insights ที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณเร็วขึ้นไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า! เลือกอ่านตามหัวข้อ Pagespeed Insights คืออะไร ทำไม Google จึงให้ PageSpeed มีส่วนสำคัญกับ SEO ประโยชน์ของ Pagespeed Insights ข้อควรระวังในการทำ Pagespeed Insights ตัวอย่างการทำ Pagespeed Insights สรุป Pagespeed Insights คืออะไร Pagespeed Insights คือ เครื่องมือที่ใช้ในการดูข้อมูลเชิงลึกด้านความเร็วของเว็บไซต์ที่จะต้องทำให้ตรงตามเกณฑ์ที่ Google กำหนด จึงจะส่งผลดีต่อการใช้งานและยังดีต่อ SEO ซึ่งคุณสามารถทำการตรวจสอบค่าความเร็วของหน้าเพจ หรือความเร็วในการแสดงผลข้อมูลต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ในทุกๆ หน้าได้ว่ามีระยะเวลาในการเปิดให้หน้าเว็บไซต์ขึ้นมาครบถ้วนมากน้อยแค่ไหน (แต่เว็บไซต์ที่จะทำการทดสอบได้จะต้องได้รับการรับรองจาก Google เท่านั้นนะครับ) ที่มาภาพ: searchengineland.com ส่วนการวัดค่า Page Speed ของเว็บไซต์สามารถทำได้หลายแบบ แต่มี 3 แบบที่ใช้กันมากที่สุดคือ Fully Loaded Page: คือ การวัดจากความเร็วในการโหลดเพจทั้งหน้าเต็มหน้า 100% Time to First Byte: คือ การวัดจากความเร็วของระยะเวลาที่เพจจะเริ่มโหลดข้อมูล First Meaningful Paint/First Contextual Paint: คือ การวัดจากความเร็วในการโหลดข้อมูลที่อาจจะไม่เต็ม 100% แต่มากพอที่ผู้เข้าชมสามารถเริ่มเห็นข้อมูลได้ ประมาณว่าการโหลดครึ่งบนของเว็บเสร็จ ใช้เวลาไปเท่าไหร่ เป็นต้น โดยคะแนนของ Pagespeed Insights นั้นจะมีตั้งแต่ 0-100 ยิ่งมีคะแนนสูงแสดงว่าเว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพด้านความเร็วมากขึ้น (แต่ถึงแม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะได้ 100 คะแนนเต็มก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ติดอันดับแรกบน Google ได้เลยนะครับ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่คุณต้องทำเพิ่มอีก ลองอ่านบทความนี้ดูครับว่ามีอะไรที่ต้องรู้บ้าง >> SEO คืออะไร ? รวมทุกอย่างที่คุณต้องรู้ของการทำ SEO ปี 2023) ทำไม Google จึงให้ PageSpeed มีส่วนสำคัญกับ SEO สาเหตุที่ทำให้ Google มีส่วนสำคัญสำหรับการทำ SEO เป็นเพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยหรือ ranking seo Signal โดย Google ได้ประกาศใช้งาน Core Web Vitals ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ Google ที่คิดขึ้นมาเพื่อจัดอันดับของเว็บไซต์เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งาน (User Experience) ที่ดี ใครที่ทำเว็บไซต์ได้ตรงตามเกณฑ์เหล่านี้ Google ก็จะให้คะแนนที่ช่วยทำให้มีโอกาสติดอันดับที่ดีกว่าคู่แข่ง และเรื่องของ PageSpeed ก็เป็นปัจจัยสำคัญของกฎนี้ที่ทุกคนจะต้องโฟกัสมากขึ้นด้วย (ผมเคยสรุปวิธีการปรับปรุงเว็บไซต์ตามกฎเกณฑ์ Core Web Vitals เอาไว้แล้ว ตามไปอ่านเพิ่มเติมได้เลยที่ Core Web Vitals คืออะไร เจาะลึกปัจจัยไต่อันดับในการทำ SEO 2023)  ที่มาภาพ: developers.google.com ประโยชน์ของ Pagespeed Insights ที่มาภาพ: engageinteractive.co.uk สำหรับประโยชน์ของ Pagespeed Insights จะมีอยู่หลักๆ 2 ด้านคือ ประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้งานเว็บไซต์และผู้ทำเว็บไซต์ ดังนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดี (User Experience) ให้กับผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ เพราะเว็บไซต์ที่ค้นหาเจอในหน้าแรกของ Google จะต้องทำให้เว็บไซต์เป็นไปตามเกณฑ์ Core Web Vitals มากยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้คนทำเว็บไซต์จะใส่ใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์จากการติดตามรายงานประสิทธิภาพของเว็บไซต์ทั้งแบบสำหรับ desktop และมือถือ รวมถึงได้รับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงอะไรบ้างในการพัฒนาเว็บไซต์ วัดจากคะแนนต่างๆ เช่น performance score ฯลฯ มากกว่าเน้นโฟกัสเพียงแค่การทำให้ติด SEO เพียงอย่างเดียว ช่วยเหลือคนทำเว็บไซต์ให้สามารถตรวจสอบเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้นจากการอ่านคะแนนประเมินและคำแนะนำต่างๆ แล้วลงมือแก้ไขตาม เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้นได้แล้ว ข้อควรระวังในการทำ Pagespeed Insights อย่างที่บอกไปแล้วว่า การทำคะแนนได้ 100 บน Pagespeed Insights ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์จะเร็วที่สุด เนื่องจาก Google PageSpeed Insights นั้นไม่ได้วัดความเร็วเป็นแบบวินาทีเหมือนเว็บไซต์อื่นๆ แต่จะให้คะแนนโดยวัดความเร็วจากการแสดงผลเป็นหลัก ดังนั้น เว็บไซต์ที่ได้ 100 คะแนนก็อาจจะช้ากว่าเว็บไซต์ที่ได้ 70 คะแนนก็ได้เช่นกัน  ตัวอย่างการทำ Pagespeed Insights สำหรับการใช้งาน Pagespeed Insights สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ โดยการเข้าไปที่ https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights หลังจากนั้นให้คุณทำการกรอก URL ของเว็บไซต์ลงไปแล้วกด ‘วิเคราะห์’ เครื่องมือจะแสดงข้อมูลต่างๆ ทั้งการคำนวณ Core Web Vitals คะแนนประสิทธิภาพของเว็บไซต์ พร้อมบอกว่าควรที่จะปรับปรุงในส่วนไหนให้ดีขึ้นได้บ้าง ตัวอย่างการประเมิน Core Web Vitals ข้อมูลส่วนแรกจะเป็นการประเมิน Core Web Vitals ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 6 ปัจจัยที่ใช้ในการวัดผลด้วยกันได้แก่  Largest Contentful Paint (LCP) คือ คะแนนวัดค่าความเร็วในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ จะทำการวัดจากการดาวน์โหลดคอนเทนต์ที่ใหญ่ที่สุดในหน้าเพจนั้น เช่น รูปภาพ วิดีโอ Pop-up หรือแบนเนอร์ว่าใช้เวลาในการดาวน์โหลดเท่าไหร่ สำหรับค่าที่ Google มองว่าได้มาตรฐานคือ ควรใช้เวลาโหลดไม่เกิน 2.5 วินาที เมื่อหน้าเพจกำลังโหลด First Input Delay (FID) คือ การวัดผลความหน่วง ระยะความเร็วในการตอบสนองของเว็บไซต์ เช่น มีการกระตุกหรือไม่ ตอบสนองไวแค่ไหน ซูมเข้า-ออกเป็นอย่างไร ฯลฯ สำหรับค่าที่ Google มองว่าได้มาตรฐานคือ ควรมีค่า FID ในการโหลดโดยใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 100 มิลลิวินาที Cumulative Layout Shift (CLS) คือ คะแนนที่ใช้ในการประเมินความเสถียรของหน้าเว็บไซต์ เช่น การจัดวางหน้าเว็บไซต์ ขนาดตัวหนังสือที่ใช้ การวางปุ่ม CTA ฯลฯ โดยค่า CLS ที่ดีควรน้อยกว่า 0.1  First Contentful Paint (FCP) คือ การวัดผลหน้าเว็บไซต์ตั้งแต่เริ่มโหลดหน้าเว็บจนถึงการแสดงเนื้อหาแรกปรากฏขึ้น เช่น เค้าโครงเว็บไซต์ ตัวหนังสือและรูปภาพบางส่วน แต่ข้อมูลยังแสดงครบไม่หมด โดยเว็บไซต์ที่ดีควรใช้เวลาโหลดอยู่ที่ 0-1,000 ms Interaction to Next Paint (INP) คือ การวัดผลการตอบสนองของหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้า ซึ่งเป็นค่าที่ตรงข้ามกับ FCP ที่จะวัดเฉพาะการตอบสนองครั้งแรกที่เนื้อหาปรากฏขึ้น โดยควรที่จะทำให้เว็บไซต์มีค่า INP อยู่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิวินาทีถึงจะดี Time to First Byte (TTFB) คือ เวลา (หน่วยเป็นมิลลิวินาที) ที่เบราว์เซอร์ใช้เพื่อรับข้อมูลไบต์แรกจากเซิร์ฟเวอร์ โดยควรที่จะมีค่าน้อยกว่า 200 MS หมายเหตุ: แถบสีเขียว สีเหลือง สีแดง นั้นจะหมายถึงจำนวนเปอร์เซ็นต์เวลาในการโหลด โดยจะแบ่งเป็นดี ต้องปรับปรุง และแย่ ยกตัวอย่างเช่น ค่า FCP มีค่าเปอร์เซ็นต์เป็น 70% (เขียว), 25% (ส้ม) และ 3% (แดง) ตามลำดับ ตัวอย่างการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์จะสามารถดูได้ทั้งเวอร์ชัน Desktop และ Mobile โดยจะมีการแสดงผลคะแนนประสิทธิภาพโดยรวมของเว็บไซต์มาให้ เลื่อนลงมาด้านล่างจะมีการรายงานปัญหาต่างๆ ที่ทำให้เว็บไซต์โหลดได้ช้า ซึ่งคนทำเว็บไซต์ก็จะต้องนำปัญหาเหล่านี้ไปทำการปรับปรุงต่อไป ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่มักจะเกี่ยวข้องกับความเร็วของเว็บไซต์ก็จะมากมายหลายอย่าง ผมจะยกตัวอย่างปัญหาและวิธีการแก้ไขง่ายๆ ให้พอเห็นภาพนะครับ ดังนี้ ขนาดของไฟล์รูปภาพ สำหรับเว็บไซต์ไหนที่ไม่ได้ทำการบีบอัดขนาดไฟล์รูปภาพก่อนที่จะอัปโหลดลงไปก็จะทำให้เสียพื้นที่ในการเก็บไฟล์รูปภาพจำนวนมาก อีกทั้งเวลาโหลดรูปยังใช้เวลานานเนื่องจากไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่ วิธีการแก้ไขก็คือ การบีบอัดขนาดไฟล์ภาพก่อนอัปโหลดลงเว็บไซต์โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น kraken.io, Shutterstock Editor, TinyPNG เป็นต้น เว็บไซต์มีเนื้อหาเยอะทำให้โหลดช้า เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเยอะๆ ยาวๆ แถมยังโหลดทีเดียวทั้งเว็บ ทำให้ดาวน์โหลดช้า ส่งผลกระทบต่อ User Experience ในการใช้งาน แนะนำให้แก้ไขโดยการใช้งาน Lazy Loading ซึ่งเป็นการให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดเนื้อหาไปทีละส่วนๆ แทนที่จะดาวน์โหลดเนื้อหาของเว็บไซต์ทีเดียว โดยใช้ปลั๊กอิน (สำหรับ WordPress) เข้าช่วย เช่น LazyLoad , BJ Lazy Load , WP Rocket Tag มีปัญหา Tag เป็นอีกหนึ่งตัวกำหนดความเร็ว-ช้า ของการโหลดเว็บไซต์ หากเว็บไซต์ไหนที่เมื่อทำการคลิกเข้าเว็บแล้วพบหน้าจอขาวๆ ไม่ปรากฏสิ่งใดเลยจะต้องทำการจัดการปรับตำแหน่ง Tag ใน Coding โดยด่วนเลย ปัญหาสคริปภายในเว็บไซต์ หากทำการลดสคริปภายในเว็บไซต์ เช่น HTML, CSS, JavaScript ด้วยการลบสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากซอร์สโค้ดก็จะช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดข้อมูลของเว็บไซต์ได้ เช่น ทำการลบความคิดเห็น ช่องว่างแบ่งบรรทัด การเว้นวรรค เป็นต้น สรุป Pagespeed Insights คือ เครื่องมือที่ช่วยในการวัดและปรับปรุงปัจจัยหนึ่งที่ Google ให้ความสำคัญอย่างการทำให้เว็บไซต์เร็วมากขึ้น ซึ่งนับเป็นหัวใจหลักสำหรับการทำ SEO ด้วยเช่นกัน  ดังนั้น เว็บไซต์ของใครยังโหลดช้าต้องรอนานเกินกว่า 3 วินาที ซึ่งทำให้เสีย Traffic ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ไปให้เว็บของคู่แข่ง รวมถึงทำให้เสียโอกาสในการขายไปง่ายๆ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วครับที่จะปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ให้เร็วและตอบสนองต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย เพราะถ้าหากคุณทำได้นอกจากจะทำให้ Google พึงพอใจแล้ว ยังทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ของคุณแฮปปี้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย และนอกจากการปรับแต่ง Page Speed แล้วอย่าลืมใส่ใจองค์ประกอบอื่นๆ ในการทำ SEO ด้วยนะครับ ซึ่งถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะทำแบบไหน มีงบประมาณแต่ไม่รู้จะปรึกษาใครสามารถปรึกษาเรา Blog9T ได้เลยที่นี่ อ้างอิง https://edgemesh.com/blog/what-is-time-to-first-byte-ttfb https://engageinteractive.co.uk/blog/improve-performance-score-100-on-google-pagespeed-insights https://searchengineland.com/google-pagespeeds-insights-tool-gets-a-major-update-with-more-data-from-lighthouse-307968 Facebook Line YMYL คืออะไร ทำไมสำคัญกับการทำ SEO เรียนรู้กฎสำคัญที่ไม่ทำตามอาจทำให้อันดับร่วง! ข้อควรรู้ Duplicate Content คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร ส่งผลเสียยังไงต่อ SEO